การตั้งค่าภาษี

การตั้งค่าภาษี
                                             

การตั้งค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
                โปรแกรมเงินเดือน Business Plus HRM ได้ตั้งค่าระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไว้เรียบร้อยแล้ว และโปรแกรมจะคำนวณเป็นไปตามที่กรมสรรพากรกำหนด และมีความถูกต้อง 100 %
ตั้งค่าตารางภาษี
ตามที่ทราบกันว่าผู้มีเงินได้ทุกคนจะต้องเสียภาษีและตามกฎหมายนายจ้างจะต้องทำการหักภาษีเพื่อนำ
ส่งกรมสรรพากร ดังนั้นสิ่งที่ควรทราบคือ
วิธีการคิดภาษี  มีเงินเพิ่มเงินหักประเภทใดบ้างที่สามารถหักค่าใช้จ่ายและสามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้ อัตราภาษีก้าวหน้า และภายหลังจากการหักภาษีแล้วนายจ้างต้องทำรายงานใดบ้างเพื่อนำส่งกรมสรรพากร ซึ่งปกติโปรแกรมจะสร้างมาตรฐานในการคำนวณภาษีเงินได้ไว้ให้แล้ว ให้ตรงตามประมวลรัษฎากรในปัจจุบัน
1.     การคำนวณภาษี  โปรแกรมได้ทำการกำหนดรายการคำนวณภาษีไว้ตรงตามกฎหมายฉบับปัจจุบันอยู่แล้ว  ซึ่งถ้ากฎหมายมีการเปลี่ยนแปลง ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนแปลงรายการต่างๆ ได้
·      เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ ฯลฯ  คือ เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า  เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้จากการจ้างแรงงาน เงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวด้วยเหตุที่ออกจากงาน รวมทั้งเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานที่มีระยะเวลาการทำงานน้อยกว่า  5 ปี เงินที่นายจ่ายให้ครั้งเดียวด้วยเหตุที่ออกจากงาน  รวมทั้งเงินชดเชยตามกฏหมายแรงงานที่มีระยะเวลาการทำงานมากกว่า 5 ปีขึ้นไป ที่เลือกนำมารวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่น
·      หักเงินสนับสนุนการศึกษาคือ เงินที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา หักได้ 2 เท่ของจำนวนเงินที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้คงเหลือหลังหักค่าใช้จ่ายและลดหย่อนแล้ว
·      เงินบริจาคคือ เงินที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการกุศล หักได้ตามเงินที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้คงเหลือหลังหักค่าใช้จ่ายและลดหย่อนแล้ว (รวมกับหักเงินสนับสนุนการศึกษาแล้ว)
·      หักภาษีได้รับยกเว้นจากซื้ออสังหาฯ คือ การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมีมูลค่าไม่เกิน 5 ล้านบาทสามารถยกเว้นภาษีเงินได้เท่าจำนวนเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์จริง แต่ไม่เกินร้อยละสิบของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด  โดยต้องจ่ายเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ระหว่างวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และต้องมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นให้แล้วเสร็จภายในช่วงเวลาดังกล่าว ต้องใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ครั้งแรกภายในห้าปีภาษี นับแต่วันที่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แล้ว และต้องใช้สิทธิเป็นเวลาห้าปีภาษีต่อเนื่องกัน โดยให้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวนเท่า ๆ กันในแต่ละปี
·      เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ ส่วนที่ไม่เกิน 10,000 บาทแรกให้กรอกในรายการค่าลดหย่อน ข้อ 8(ค), ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท ให้กรอกในรายการเงินได้ที่ได้รับยกเว้นข้อ 1(ข) สูงสุดไม่เกิน 15 %ของเงินได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายและลดหย่อน
·      เงินสะสม กบข. คือ เงินที่ได้จ่ายสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สามารถยกเว้นได้ไม่เกิน 500,000 บาท
·      เงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน   คือ เงินที่ได้จ่ายสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน สามารถหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท
·      เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ   คือ ผู้เป็นสมาชิกที่จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. สามารถนำไปหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง ในลักษณะการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่เมื่อรวมกับเงินสะสมในลักษณะทำนองเดียวกันแล้ว ต้องไม่เกินกว่าจำนวนตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด
·      ผู้มีเงินได้ตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป หรือพิการไม่เกิน 65 ปี  คือ รายการยกเว้นเงินได้สำหรับผู้มีเงินได้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป หรือผู้มี  เงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีที่ได้รับ สามารถหักลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 190,000 บาท
·      คู่สมรสผู้มีเงินได้ตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป หรือพิการไม่เกิน 65 ปี   คือ รายการหักลดหย่อนสำหรับคู่สมรสของผู้มีเงินได้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปหรือคู่สมรสของผู้มีเงินได้เป็นคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งเป็นผู้อยู่ใน   ประเทศไทย และมีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีที่ได้รับ สามารถหักลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 190,000 บาท
·      เงินชดเชยที่ได้รับตามกฎหมายแรงงาน คือ   เงินที่พนักงานได้รับเป็นเงินก้อนเดียวเพื่อออกจากงานและเป็นส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้าย แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ทั้งนี้มีระยะเวลาการทำงานน้อยกว่า 5 ปี
·      ผู้มีเงินได้ คือ การหักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ตามกฏหมายหักได้ 60,000 บาทไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไทยถึง 180 วันหรือไม่ก็ตาม
·      คู่สมรส คือ (1) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ที่มีสิทธิหักลดหย่อน จะต้องเป็นสามีหรือภริยาชอบด้วยกฎหมาย การสมรส ไม่ครบปีภาษีก็มีสิทธิหักลดหย่อนได้  เช่น จดทะเบียนสมรสระหว่างปีภาษี หรือตายในระหว่างปีภาษี ก็มีสิทธิหักลดหย่อนได้  60,000  บาท  (2) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ที่จะนำมาหักลดหย่อนจะต้องไม่มีเงินได้พึงประเมินหรือมีแต่ไม่ได้แยกคำนวณภาษี ตัวอย่าง สามีภริยาแต่งงานครบปีภาษีและต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ประเภทที่ 1 กรณีดังกล่าว ภริยาสามารถแยกคำนวณภาษีต่างหากจากสามีได้โดยชอบ ทั้งสามีภริยาจึงไม่มีสิทธินำคู่สมรสมาหักลดหย่อนได้ แต่หากภริยามีเงินได้ประเภทอื่น  (2-8) ให้สามีนำเงินได้ของภริยามารวมคำนวณและมีสิทธินำคู่สมรสมาลดหย่อนภาษีได้
·      บุตรไม่ศึกษาและบุตรศึกษา  คือ การหักลดหย่อนบุตร ให้หักสำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ด้วย โดยมีเงื่อนไขว่าบุตรที่เกิด ก่อนหรือ ในพ.ศ.2522 หรือที่ได้รับเป็นบุตรบุญธรรม ก่อน พ.ศ. 2522 คนละ 15,000 บาท บุตรที่เกิด หลัง พ.ศ.2522 หรือที่ได้รับเป็นบุตรบุญธรรมในหรือหลังพ.ศ.2522 คนละ 15,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 3 คน การนับจำนวนบุตรให้นับเฉพาะบุตรที่มีชีวิตอยู่ตามลำดับอายุสูงสุดของบุตรโดยให้นับรวมทั้งบุตร ที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการหักลดหย่อนด้วย  การหักลดหย่อนสำหรับบุตร ให้หักได้เฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกิน 25 ปี และยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษาเฉพาะภายในประเทศให้ลดหย่อนเพื่อการศึกษาได้อีกคนละ 2,000 บาท หรือเป็นผู้เยาว์ หรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถอันอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู แต่มิให้หักลดหย่อนสำหรับบุตรดังกล่าวที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไปโดยเงินได้ ดังกล่าวต้องไม่ใช่เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42 ให้ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้  การหักลดหย่อนสำหรับบุตรดังกล่าว ให้หักได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีจะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ และในกรณีบุตรบุญธรรมนั้นให้หักลดหย่อนในฐานะบุตรบุญธรรมได้ในฐานะบุตรผู้มีเงินได้
·      ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรในปี คือ          ถ้าเป็นค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรที่ไม่ได้เกิดขึ้นในปีภาษีเดียวกัน  จะได้รับสิทธิลดหย่อนตามจำนวนที่จ่ายจริงรวม 2 ปี ต้องไม่เกิน 60,000 บาท เช่น ในปี 2561 จ่ายค่าฝากครรภ์ไปจำนวน 10,000 บาท ก็จะสามารถหักลดหย่อนภาษีปี 2561 ได้ 10,000 บาท และในปีถัดไป จะสามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 50,000 บาท เท่านั้น
·      บุตรที่เกิดก่อนปี พ.ศ.2561 คือ ได้รับค่าลดหย่อนจากการเลี้ยงดูบุตรอายุไม่เกิน 20 ปีหรือยังไม่บรรลุนิติภาวะ โดยลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท ไม่จำกัดจำนวนบุตรแต่ถ้าคลอดบุตรคนแรกในปี 2561 ก็จะสามารถลดหย่อนภาษีค่าเลี้ยงดูบุตรได้ 30,000 บาท ตามอัตราเดิมที่เคยกำหนดไว้
·      บุตรตั้งแต่คนที่ 2 ที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ.2561 คือ กรณีคลอดบุตรในปี 2561 และเป็นบุตรคนที่ 2 ขึ้นไป รัฐบาลเพิ่มค่าลดหย่อนให้อีกคนละ 30,000 บาท ดังนั้น จะหักลดหย่อนภาษีได้ถึงคนละ 60,000 บาท
·      อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา คือ  ค่าลดหย่อนบิดามารดา กรณีผู้มีเงินได้และคู่สมรสที่มีเงินได้รวมคำนวณภาษีหรือคู่สมรสไม่มีเงินได้ อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุ 60ปีขึ้นไป ซึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ ผู้มีเงินได้และ คู่สมรสมีสิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้คนละ 30,000 บาท ทั้งนี้ บิดาหรือมารดาของผู้มีเงินได้หรือคู่สมรส จะต้องออกหนังสือรับรองว่าบุตรคนใดคนหนึ่งเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูเพียงคนเดียว
·      อุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือทุพพลภาพ  คือ ผู้มีเงินได้ที่ได้อุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท ซึ่งบุคคลที่อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้ จะต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท ผู้มีเงินได้ที่เป็นผู้ใช้สิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ จะต้องมีหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูที่ต้องได้ลงนามรับรองให้เป็นผู้มีสิทธิเพียงผู้เดียวด้วยแบบ ล.ย.04 และต้องระบุเลขประจำตัวประชาชนของคนพิการหรือคนทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฏร์
·      เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา  คือ เงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันชีวิตหรือบริษัทประกันวินาศภัยที่ประกอบกิจการในราชอาณาจักรตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท สำหรับการประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ซึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ  ทั้งนี้ ต้องเป็นเบี้ยประกันภัยที่ได้จ่ายในปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 162) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันสุขภาพบิดามารดาของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบิดามารดาของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นไปเบี้ยประกันชีวิต คือ เงินที่ผู้มีเงินได้ที่ชำระค่าเบี้ยประกันในปีภาษีนั้นๆ ซึ่งกรมธรรม์ประกันชีวิตที่จะนำมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้ต้องมีระยะเวลาคุ้มครอง10ปีขึ้นไปหรือตลอดชีพต้องเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ซื้อกับบริษัทที่ประกอบกิจการในประเทศไทยเท่านั้นผู้มีเงินได้สามารถหักลดหย่อนภาษีเงินได้ตามจำนวนเบี้ยประกันที่จ่ายจริงสูงสุดได้ถึง 100,000 บาท ในกรณีที่ผู้มีเงินได้มีคู่สมรส ที่ความเป็นสามีภรรยามีอยู่ตลอดปีภาษี ซึ่งคู่สมรสมีกรมธรรม์ประกันชีวิตระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไปที่ซื้อกับบริษัทประกันชีวิตที่ประกอบกิจการในประเทศไทยหากคู่สมรสไม่มีเงินได้ผู้มีเงินได้สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตของงคู่สมรสมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
·      เบี้ยบำนาญ   คือ ประกันชีวิตแบบบำนาญที่จะสามารถนำมาหักลดหย่อนได้นั้น จะต้องเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป และได้ทำสัญญาไว้กับบริษัทประกันชีวิตที่ประกอบกิจการ
ในประเทศไทย และจะต้องไม่มีการจ่ายเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ให้กับผู้เอาประกันในระหว่างปี หรือช่วงเวลาที่ผู้เอาประกันได้จ่ายเบี้ยประกันชีวิต หรือก่อนกรมธรรม์มีอายุครบสัญญา และเมื่อผู้เอาประกันอายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปี จะได้รับเงินคืน (บำนาญ) เป็นรายงวดเท่าๆ กันอย่างสม่ำเสมอจนถึงอายุ 85 ปี หรือมากกว่า นอกจากนั้น เงินบำนาญหรือเงินคืนที่ได้รับต้องไม่มีลักษณะเป็นเงินก้อนหรือเงินอื่นที่คำนวณจากทุนประกัน โดยผู้เอาประกันจะได้รับเงินบำนาญคืนเมื่อได้ชำระเบี้ยประกันครบตามสัญญาแล้วสำหรับวงเงินส่วนที่ให้หักลดหย่อนได้เพิ่มขึ้นจำนวน 200,000 บาทนั้น ต้องไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน และเมื่อรวมกับเงินได้ที่จ่ายเข้ากองทุนประเภทเดียวกันประเภทอื่นๆ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมาย ว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ครูตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท โดยมีผลบังคับใช้สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี 2553 ที่ต้องยื่นรายการในปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป
·      ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน คือ เงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซื้อกองทุนรวม RMF สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ จะต้องมีจำนวนไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น กรณีที่ผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการด้วยเงินได้ที่ได้รับยกเว้นดังกล่าว เมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการต้องไม่เกิน 500,000 บาท
·      ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน RMF คือ เงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซื้อกองทุนรวม RMF สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ จะต้องมีจำนวนไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น กรณีที่ผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการด้วยเงินได้ที่ได้รับยกเว้นดังกล่าว เมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการต้องไม่เกิน 500,000 บาท
·      ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน LTF คือ เงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซื้อกองทุน LTF ซึ่งสามารถนำมาหักลดหย่อนได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท  สำหรับปีภาษีนั้น และเงินได้ดังกล่าวต้องเป็นเงินได้ของผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลและกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
·      ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้าง  คือ ดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย โดยอาคารที่อยู่อาศัยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จ่ายตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2550
·      อื่นๆ  คือ เงินหักลดหย่อนอื่นๆ ตามที่กำหนดในประมวลรัษฎากร นอกเหนือจากค่าลดหย่อนลำดับที่ 1-11
·      เงินได้ที่จ่ายไปเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ คือ    อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด ต้องมีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตนเอง โดยมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นให้แล้วเสร็จ ในระหว่างวันที่ 13 ตุลาคม 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559 ให้ใช้สิทธิหักลดหย่อนได้ ไม่เกินร้อยละ 20 ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ โดยหักลดหย่อนตั้งแต่ปีที่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์และให้ หักลดหย่อนต่อเนื่องกัน 5 ปีภาษี ให้เป็นจำนวนเท่าๆ กันในแต่ละปีภาษี
·      เงินสมทบกองทุนประกันสังคม  คือ เงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม ตามกฎหมายว่าด้วยการ ประกันสังคมตามจำนวนที่จ่ายจริง ในกรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ซึ่งเป็นผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ข้างต้นและความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้หักลดหย่อนได้ด้วย สำหรับเงินสมทบของสามีหรือภริยาที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมดังกล่าวตามเกณฑ์
·      ค่าเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ คือ สำหรับค่าบริการหรือค่าที่พัก ในการท่องเที่ยวภายในประเทศค่าเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ สำหรับค่าบริการหรือค่าที่พัก ในการท่องเที่ยวภายในประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ตามที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 15,000 บาท
·      ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในประเทศ คือ เงินได้ที่ซื้อสินค้าหรือบริการภายในประเภท ระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558  ไม่รวมถึง การซื้อสุรา เบียร์ ไวน์ ยาสูบ น้ำมัน ก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ โดยผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานการซื้อสินค้าหรือรับบริการเป็นใบกำกับภาษีเต็มรูปเป็นหลักฐาน ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท
·      วิธีคำนวณภาษีระหว่างปี คือ  การกำหนดวิธีการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ต้องการระบุให้โปรแกรมคำนวณ  ซึ่งสามารถเลือกวิธีการคำนวณภาษีได้ โดยหลักการคำนวณภาษีของแต่ละวิธีมีดังนี้
·   ตามประกาศ ป.96/2543   สำหรับวิธีการคำนวณภาษีวิธีนี้เป็นวิธีที่ถูกต้องตามที่กรมสรรพกรได้ประกาศไว้  การคิดคำนวณภาษีวิธีนี้  โปรแกรมนำรายได้ตามมาตรา 40 (1) ไปประมาณการโดยคูณจำนวนคราวที่จะต้องจ่าย   (ต่อปี) แล้วนำมาหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน และคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา  หารจำนวนคราวที่จะต้องจ่ายทั้งปีเพื่อจ่ายเป็นเงินหัก ณ ที่จ่าย

·   ถัวเฉลี่ยเฉพาะทำงานตั้งแต่ต้นปี  สำหรับวิธีนี้เป็นวิธีที่กรมสรรพากรยังไม่ได้ประกาศใช้ หากจะใช้วิธีนี้ควรใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจ การคิดคำนวณภาษีวิธีนี้ โปรแกรมจะคำนวณภาษีโดยใช้วิธีถัวเฉลี่ยในการคิดเงินได้พึงประเมินระหว่างปีให้  (วิธีนี้จะใช้ได้กับพนักงานที่เข้างานก่อนปีปัจจุบันเท่านั้น) หากมีการปรับเปลี่ยนเงินได้ที่ได้ประจำ ณ ปัจจุบัน เช่น เงินเดือน,    ค่าตำแหน่ง ฯลฯ โปรแกรมจะนำเงินที่ได้รับการปรับไปคูณจำนวนเดือนที่เหลือพร้อมนำไปบวกกับผลคำนวณเงินได้ประจำที่เคยได้รับมาก่อนงวดเงิน เดือนปัจจุบัน  ตัวอย่างเช่น  ปรับเงินเดือนในเดือนมีนาคม ในการคิดเงินได้พึงประเมิน ณ เดือนมีนาคมโปรแกรมจะนำเงินที่ได้รับการปรับไปคูณจำนวนคราวที่เหลือทั้งปี คือ 10 เดือน (นับเดือนมีนาคมจนถึงเดือนธันวาคม) แล้วนำ ไปรวมกับเงินเดือนที่ได้รับจริงในเดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ หลังจากนั้นจึงนำไปหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน แล้วคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และหารด้วยจำนวนคราวที่ต้องจ่ายภาษีทั้งปีเพื่อเป็นภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น