การกำหนดประเภทเบี้ยขยัน


การกำหนดประเภทเบี้ยขยัน

โปรแกรมเงินเดือน Business Plus HRM


วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถกำหนดกลุ่มของการจ่ายเบี้ยขยันให้กับพนักงานลงในโปรแกรมตามเงื่อนไขของกิจการได้อย่างถูกต้อง

ขั้นตอนการทำงาน
·       รวบรวมนโยบายการจ่ายเบี้ยขยันให้กับพนักงานของกิจการ
·       กำหนดประเภทเบี้ยขยัน  ตามรายละเอียดด้านล่าง

การกำหนดประเภทเบี้ยขยัน
การกำหนดประเภทเบี้ยขยัน เป็นการกำหนดกลุ่มของการจ่ายเบี้ยขยันให้กับพนักงานตามเงื่อนไขของกิจการ ทั้งนี้ เพื่อแจ้งให้โปรแกรมทราบว่า พนักงานแต่ละกลุ่มจะได้รับเบี้ยขยันในอัตราใด เมื่อพนักงานสามารถปฏิบัติงานได้ตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนด โดยเบี้ยขยันที่จ่ายอาจเป็นอัตราคงที่ หรืออัตราก้าวหน้าก็ได้

การเพิ่มประเภทเบี้ยขยัน
โปรแกรมมีประเภทเบี้ยขยันมาตรฐานให้ 1 ประเภทแล้ว คือ พนักงานทั่วไป แต่ถ้าเงื่อนไขการจ่ายเบี้ยขยันของกิจการไม่เหมือนกับประเภทเบี้ยขยันมาตรฐานที่โปรแกรมมีให้ ท่านสามารถทำการเพิ่มประเภทเบี้ยขยันตามเงื่อนไขการจ่ายเบี้ยขยันของบริษัทได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
วิธีการบันทึกข้อมู

  • ขณะอยู่หน้าจอ การตั้งค่า
  • เลือก ระบบเงินเดือน
  • เลือก เบี้ยขยัน 
  • คลิกเมาส์ขวา เพิ่มเติมรายการ หรือ คลิกปุ่ม เพิ่มเติม  
  • เลือก เพิ่มประเภทเบี้ยขยัน
  • กำหนดรายละเอียดต่างดังนี้
              
    · ประเภทเบี้ยขยัน หมายถึง ชื่อที่ใช้อ้างอิงเพื่อให้ผู้ใช้อื่นๆสามารถเข้าใจว่าเบี้ยขยันนี้จะใช้สำหรับพนักงานจำพวกใดและอัตราเท่าไร
              
    · อายุงาน หมายถึง กรณีมีการให้เบี้ยขยันแบ่งตามอายุงาน เช่น
                           
    · พนักงานที่อายุงาน 1 ถึง 2 ปี  จะได้รับเบี้ยขยันในอัตรา 200, 300 และ 500 บาท
                           
    · พนักงานที่อายุงาน 2 ถึง 5 ปี  จะได้รับเบี้ยขยันในอัตรา 500, 600, 700 และ 800 บาท
              
    · เดือนที่หนึ่ง หมายถึง จำนวนเงินรางวัลหรือยอดเงินเบี้ยขยันที่จะจ่ายให้พนักงานที่ไม่ขาด ไม่ลา ไม่สาย ไม่กลับก่อน ในเดือนแรกที่พนักงานสามารถทำตามกฏเกณฑ์ที่กำหนดได้
              
    · เดือนที่สอง หมายถึง จำนวนเงินรางวัลหรือยอดเงินเบี้ยขยันที่จะจ่ายให้พนักงานที่ไม่ขาด ไม่ลา ไม่สาย ไม่กลับก่อน ในกรณีที่พนักงานสามารถทำตามกฏเกณฑ์ที่กำหนดได้สองเดือนติดต่อกัน
              
    · เดือนที่สาม หมายถึง จำนวนเงินรางวัลหรือยอดเงินเบี้ยขยันที่จะจ่ายให้พนักงานที่ไม่ขาด ไม่ลา ไม่สาย ไม่กลับก่อน ในกรณีที่พนักงานสามารถทำตามกฏเกณฑ์ที่กำหนดได้สามเดือนติดต่อกัน
              
    · เดือนที่สี่ หมายถึง จำนวนเงินรางวัลหรือยอดเงินเบี้ยขยันที่จะจ่ายให้พนักงานที่ไม่ขาด ไม่ลา ไม่สาย ไม่กลับก่อน ในกรณีที่พนักงานสามารถทำตามกฏเกณฑ์ที่กำหนดได้สี่เดือนติดต่อกัน
              
    · เดือนที่ห้า หมายถึง จำนวนเงินรางวัลหรือยอดเงินเบี้ยขยันที่จะจ่ายให้พนักงานที่ไม่ขาด ไม่ลา ไม่สาย ไม่กลับก่อน ในกรณีที่พนักงานสามารถทำตามกฏเกณฑ์ที่กำหนดได้ห้าเดือนติดต่อกัน
              
    · เดือนที่หก หมายถึง จำนวนเงินรางวัลหรือยอดเงินเบี้ยขยันที่จะจ่ายให้พนักงานที่ไม่ขาด ไม่ลา ไม่สาย ไม่กลับก่อน ในกรณีที่พนักงานสามารถทำตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดได้หกเดือนหรือมากกว่าติดต่อกัน
              
    · เมื่อทำการกำหนดจำนวนสิทธิการลาของพนักงานเรียบร้อยแล้วคลิกปุ่ม ตรวจสอบ เพื่อให้โปรแกรมทำการตรวจสอบการตั้งค่าอายุงานและนับอายุงานให้อัตโนมัติ และคลิกปุ่ม บันทึก
  • วิธีการแก้ไขประเภทเบี้ยขยัน คลิกเมาส์ซ้ายยังประเภทเบี้ยขยันที่ต้องการแก้ไข จากนั้นคลิกเมาส์ขวาเลือก แก้ไขรายการ
  • วิธีลบประเภทเบี้ยขยัน คลิกเมาส์ซ้ายยังประเภทเบี้ยขยันที่ต้องการลบ จากนั้นคลิกเมาส์ขวาเลือก ลบรายการ
  • ในกรณีที่ทำการลบประเภทเบี้ยขยันที่ยังมีผู้อ้างอิงโปรแกรมจะทำการเตือน และจะไม่ทำการลบประเภทเบี้ยขยัน

วิธีการสำเนาประเภทเบี้ยขยัน
กรณีมีประเภทเบี้ยขยันที่สร้างไว้แล้ว หากต้องการเพิ่มเติมประเภทเบี้ยขยันอีก ผู้ใช้งานสามารถทำการเพิ่มเติมประเภทเบี้ยขยันได้อีกวิธีหนึ่ง คือ ทำการสำเนาประเภทเบี้ยขยันที่สร้างไว้แล้ว เพื่อเพิ่มเป็นประเภทเบี้ยขยันใหม่ และทำการแก้ไขรายละเอียดของประเภทเบี้ยขยันที่สำเนามาเฉพาะบางส่วนที่แตกต่างกัน เพื่อช่วยให้การสร้างประเภทเบี้ยขยันทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น โดยมีขั้นตอนดังนี้
  • ขณะอยู่หน้าจอ การตั้งค่า
  • เลือก ระบบเงินเดือน
  • เลือก เบี้ยขยัน 
  • คลิกที่ ชื่อประเภทเบี้ยขยัน ที่ต้องการสำเนาให้เป็นแถบสี
  • คลิกเมาส์ขวา สำเนาประเภทเบี้ยขยัน  
·  จากนั้นจะปรากฏประเภทเบี้ยขยันที่ทำการสำเนามา ซึ่งมีรายละเอียดเหมือนกับประเภทเบี้ยขยันที่เป็นแม่แบบทุกอย่าง  ผู้ใช้งานสามารถทำการแก้ไขชื่อประเภทเบี้ยขยัน และอัตราการจ่ายเบี้ยขยันตามที่ต้องการได้

การแก้ไขประเภทเบี้ยขยัน
กรณีที่สร้างประเภทเบี้ยขยันไว้แล้ว แต่ต้องการแก้ไขรายละเอียดของประเภทเบี้ยขยัน ไม่ว่าจะเป็นชื่อประเภทเบี้ยขยัน หรืออัตราการจ่ายเบี้ยขยัน สามารถทำได้โดยมีขั้นตอนดังนี้
  • ขณะอยู่หน้าจอ การตั้งค่า
  • เลือก ระบบเงินเดือน
  • เลือก เบี้ยขยัน 
  • คลิกที่ ชื่อประเภทเบี้ยขยัน ที่ต้องการแก้ไขให้เป็นแถบสี
  • คลิกเมาส์ขวา แก้ไขรายการ หรือ ดับเบิ้ลคลิก ชื่อประเภทเบี้ยขยัน ที่ต้องการแก้ไข  
·  เมื่อปรากฏหน้าจอ “รายละเอียดเบี้ยขยัน”  ที่ต้องการแก้ไขแล้ว ทำการแก้ไขรายละเอียดของประเภทเบี้ยขยันตามที่ต้องการ และคลิก ปุ่มบันทึก

การลบประเภทเบี้ยขยัน
 กรณีที่มีการสร้างประเภทเบี้ยขยันไว้ แต่ไม่ต้องการใช้งานประเภทเบี้ยขยันนั้นๆ แล้ว ท่านสามารถทำการลบประเภทเบี้ยขยันนั้นๆ ได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้
  • ขณะอยู่หน้าจอ การตั้งค่า
  • เลือก ระบบเงินเดือน
  • เลือก เบี้ยขยัน 
  • คลิกที่ ชื่อประเภทเบี้ยขยัน ที่ต้องการแก้ไขให้เป็นแถบสี
  • คลิกเมาส์ขวา ลบรายการ
·  เมื่อปรากฏข้อความ “ยืนยันลบรายการนี้?”  คลิก ปุ่ม Yes  โปรแกรมจะทำการลบประเภทเบี้ยขยันนั้นทันที

การพิมพ์รายงานรายละเอียดประเภทเบี้ยขยัน
กรณีที่ต้องการตรวจสอบรายละเอียดของประเภทเบี้ยขยันที่สร้างไว้ ท่านสามารถสั่งพิมพ์รายงานรายละเอียดประเภทเบี้ยขยัน เพื่อใช้ตรวจสอบรายละเอียดของประเภทเบี้ยขยันได้
โดยมีขั้นตอนดังนี้
  • ขณะอยู่หน้าจอ การตั้งค่า
  • เลือก ระบบเงินเดือน
  • เลือก เบี้ยขยัน 
  • คลิกที่ เมนูแฟ้ม
  • เลือก รายงานสิทธิการลาและเบี้ยขยัน
  • เลือก รายงานรายละเอียดประเภทเบี้ยขยัน   
·  เมื่อปรากฏหน้าจอสั่งพิมพ์รายงาน  คลิก ปุ่มเริ่มพิมพ์



หมายเหตุ :
           
· การกรอกอายุงาน ให้กรอกในช่อง อายุงาน (ถึง) เท่านั้น ส่วนช่องอายุงาน (ตั้งแต่) เมื่อทำการคลิกปุ่ม ตรวจสอบ โปรแกรมจะทำการนับอายุงานใน ช่องตั้งแต่ ให้โดยอัตโนมัติ
       
 
   · หากเบี้ยขยันที่จ่ายไม่มีการแบ่งช่วงอายุงาน หรือแบ่งช่วงอายุงานเป็นลำดับสุดท้ายในช่องถึงใส่ 99
           
· กรณีมีการจ่ายมีขยันน้อยกว่าหกอัตรา ให้ใส่อัตราสุดท้ายไปจนถึงช่องเดือนที่หก
           
· ในกรณีที่เบี้ยขยันที่ให้พนักงานไม่ได้กำหนดเป็นค่าคงที่ เช่น กำหนดเป็นเปอร์เซนต์ของเงินเดือน หรือ กำหนดอัตราค่าจ้างต่อวัน ฯลฯ ในช่องเดือนข้างต้นสามารถใส่เป็นสูตรเหมือนที่บันทึกในประเภทเงินเพิ่มเงินหักได้ เช่น
                  
· กำหนดจ่ายให้หนึ่งเปอร์เซนต์ของเงินเดือน จะบันทึกเป็น SALARY()*0.01
                 
 · กำหนดให้จ่ายเป็นวันละสิบบาทตามจำนวนวันในเดือน จะบันทึกเป็น ADOM()*10 เป็นต้น
                  
· นอกจากนั้น ในกรณีที่มีอัตราเบี้ยขยันมากกว่า หก อัตรา หรือ มีเงื่อนไขพิเศษ เช่น จะจ่ายเบี้ยขยันเมื่อมาสายน้อยกว่าจำนวนครั้งที่ระบุ หรือวิธีการกำหนดเบี้ยขยันอื่น

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น